1000 ล้านชีวิตในตัวเรา

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย 1000 ล้านชีวิตในตัวเรา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)


Big Question :

สิ่งมีชีวิตมีกระบวนการในการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร


ภูมิหลังของปัญหา

            สิ่งมีชีวิตในโลกมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน อาทิเช่น ลักษณะทางพันธุกรรม แหล่งที่อยู่อาศัย รูปแบบการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ โดยมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจะมีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสี่ของกันและกัน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดสามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ กับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ที่นับวันจะเสื่อมโทรมลง นั้นคือกระบวนการปรับตัว ด้วยวิธีการพิเศษของสิ่งมีชีวิตแต่ละสิ่ง เริ่มตั้งแต่ จุลชีวิตขนาดเล็กไปจนถึง สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น การขยายพันธุ์ของแหนแดง ที่ถูกจำกัดด้วยพื้นที่ของอ่างน้ำ ซึ่งแหนแดงก็จะมีวิธีการจัดการตัวเองด้วยกายย่อยสลายตัวเองออกไปจากกลุ่ม ซึ่งต้นที่ถูกย่อยจะเป็นต้นที่เกิดอยู่รอบนอกสุดของกลุ่มและอยู่ขอบริมของอ่างน้ำ
           ดังนั้นจึงจำเป็นที่นักเรียนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ กระบวนการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเข้ากับรูปแบบของธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันโดยพึ่งพาอาศัยกันได้อย่างสมดุลและดำรงค์ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ


เป้าหมายของความเข้าใจ (Understanding Goals) :

           1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล

           2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้







ปฏิทินแผนจัดกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ (PBL) Topic : "1000 ล้านชีวิตในตัวเรา "
        ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
สัปดาห์
เนื้อหา
คำถาม
กิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์
กิจกรรมการเรียนรู้ระยะยาว
ภาระงาน/ชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1
สร้างฉันทะ
 (กระตุ้นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้)
สำรวจ
- นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีอะไรบ้าง

- สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆอย่างไรบ้าง
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนประทับใจในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตในโรงเรียน
- นักเรียนวาดภาพและเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจบริเวณโรงเรียน
- ครูให้นักเรียนสำรวจสิ่งมีชีวิตที่บ้านของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




ภาระงาน
- การแสดงความคิดเห็นจากการเดินสำรวจบริเวณโรงเรียน
ชิ้นงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- บริเวณโรงเรียน
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน














สัปดาห์
เนื้อหา
คำถาม
กิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์
กิจกรรมการเรียนรู้ระยะยาว
ภาระงาน/ชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
2
วางแผนการเรียนรู้
 -  เลือกหัวข้อ
  - สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
 - ปฏิทินการเรียนรู้
 - Mind mapping ก่อนเรียน
นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร
นักเรียนดูคลิป กำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งมวล                                           - นักเรียนอ่านบทความ สิ่งมหัศจรรย์โลกจุลินทรีย์                                                      - นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการไม่แปรงฟัน                                           - นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรในQuarter นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้ เรื่องนั้น 
- ตั้งชื่อโครงงาน
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
- ทำปฏิทินการเรียนรู้ 20  สัปดาห์
- เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน  
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



ภารงาน
- การดูคลิป กำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งมวล                                         - การอ่านบทความ สิ่งมหัศจรรย์โลกจุลินทรีย์
- การเลือกหัวข้อโครงงาน
- การเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
 -การวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
- การเขียน Mind mapping ก่อนเรียน

ชิ้นงาน
ชื่อโครงงาน
สรุปก่อนเรียนในรูปแบบ Mind Mapping
สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- คลิป กำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
- บทความ สิ่งมหัศจรรย์โลกจุลินทรีย์                                        
กระดาษบรู๊ฟ/กระดาษชาร์ตสี(แข็ง)
สี/ปากกาเคมี
ห้องสมุด
บรรยากาศในห้องเรียน





























สัปดาห์
เนื้อหา
คำถาม
กิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์
กิจกรรมการเรียนรู้   ระยะยาว
ภาระงาน/ชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
3 – 7
แหนแดง
การเพาะเลี้ยง
- การทดสอบสารอาหารในแหนแดง
- แหนแดงสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่จำกัดได้อย่างไร(อ่าง)
- นักเรียนคิดว่าสารอาหารในแหนแดงมีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่อย่างไร
นักเรียนคิดว่าไก่ที่กินข้าว กับไก่ที่กินแหน
- นักเรียนคิดว่าแหนแดงสามารถนำไปเลี้ยงไก่ไข่ได้หรือไม่ อย่างไร
- แบ่งกลุ่มนักเรียนเพาะเลี้ยงแหนแดง ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน (ในร่มกับกลางแจ้ง)
- นักเรียนทดสอบและเปรียบเทียบสารอาหารในแหนแดง
- เพาะเลี้ยงแหนแดงเพื่อเลี้ยงไก่ไข่
- ออกแบบและสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่
- บันทึกผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไก่  ไข่ไก่ ขี้ไก่  ลักษณะอาการ
เลี้ยงไก่ไข่ + เพาะเลี้ยงแหนแดง


ภาระงาน
- การเพาะเลี้ยงแหนแดง
- การทดสอบและเปรียบเทียบสารอาหารในแหนแดง
- การออกแบบและสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่
- การบันทึกผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไก่  ไข่ไก่ ขี้ไก่  ลักษณะอาการ
ชิ้นงาน
- เพาะเลี้ยงแหนแดง
- โรงเรือนเลี้ยงไก่
- บันทึกผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไก่  ไข่ไก่ ขี้ไก่  ลักษณะอาการ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
โรงเรียน
ผู้ปกครอง
กระดาษบรู๊ฟ/กระดาษชาร์ตสี(แข็ง)
สี/ปากกาเคมี
- อินเทอร์เน็ต
ห้องสมุด
บรรยากาศในห้องเรียน



สัปดาห์
เนื้อหา
คำถาม
กิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์
กิจกรรมการเรียนรู้            ระยะยาว
ภาระงาน/ชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
8 -11
กระบวนการทำงานของจุลินทรีย์
- นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตใดที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า
- นักเรียนคิดว่ากลิ่นเหม็นจากร่างกายของเราเกิดขึ้นได้อย่างไร(รักแร้ ปาก  เท้า)
- นักเรียนจะสามารถเปลี่ยนน้ำผลไม้(ต้มกับน้ำตาล)ให้เป็นไวท์ผลไม้แต่ละประเภทได้อย่างไร
- เราจะหมักข้าวหมากและไวท์ให้มีคุณภาพได้อย่างไร
- จุลินทรีย์ประเภทยิสซ์มีกระบวนการทำงานอย่างไร

- สังเกตราที่เกิดบนแกนข้าวโพด  ข้าวเหนียว  ก้อนเห็ด ขนมปังและส่องกล้องจุลทรรศน์ดูลักษณะของจุลินทรีย์
- สำรวจและศึกษาสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง (กลิ่นตัว  ลมหายใจ )
- ศึกษากระบวนการทำงานของจุลินทรีย์โดยการหมักไวท์และข้าวหมาก
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการหมักไวท์(ผลไม้ตามฤดูกาล)และข้าวหมาก(ชนิดของข้าว)
-นักเรียนลงมือหมักไวท์และข้าวหมากตามกระบวนการที่วางแผนไว้
นักเรียนบันทึกผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไวท์และข้าวหมาก (ฟอง สี กลิ่น ค่า PH)
ทดสอบคุณภาพของไวท์และข้าวหมาก (กลิ่น สี รสชาติ แอลกอฮอลล์)
นักเรียนออกแบบบรรจุภัณฑ์

เลี้ยงไก่ไข่ + เพาะเลี้ยงแหนแดง
หมักไวท์  +   ข้าวหมาก

ภาระงาน
- การสังเกตราที่เกิดบนแกนข้าวโพด  ข้าวเหนียว  ก้อนเห็ด ขนมปัง
- การสำรวจและศึกษาสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง
- การเตรียมอุปกรณ์ในการหมักไวท์(ผลไม้ตามฤดูกาล)และข้าวหมาก(ชนิดของข้าว)และการบันทึกผล
ชิ้นงาน
- ไวท์ /ข้าวหมาก
- บันทึกผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไวท์และข้าวหมาก
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

กระดาษบรู๊ฟ/กระดาษชาร์ตสี(แข็ง)
สี/ปากกาเคมี
- อินเทอร์เน็ต
ห้องสมุด
บรรยากาศในห้องเรียน