1000 ล้านชีวิตในตัวเรา

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย 1000 ล้านชีวิตในตัวเรา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้

week5


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
Topic : "1000  ล้านชีวิตในตัวเรา"
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 1  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถทำบ่อเลี้ยงแหนแดง รวมทั้งออกแบบและทำเล้าไก่ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3 – 6
26 .. –
27 มิ.ย
  2557
โจทย์ :
แหนแดง
การเพาะเลี้ยง
- การทดสอบสารอาหารในแหนแดง
การเลี้ยงไก่ไข่
- การเล้าไก่
-การเลี้ยงไก่ไข่

Key Questions
- แหนแดงสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่จำกัดได้อย่างไร(อ่าง)
- นักเรียนคิดว่าสารอาหารในแหนแดงมีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าไก่ที่กินข้าว กับไก่ที่กินแหนจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่และไข่หรือไม่ อย่างไร


เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- การร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีในด้านอุตสาหกรรมการเกษตร
- ลักษณะและประโยชน์ของแหนแดง
Round  Rubin :  ความสัมพันธ์ระหว่างคิด  สิ่งมีชีวิตที่บ้านของนักเรียนกับสิ่งต่างๆ
Show and  Share : นำเสนอภาพวาด พร้อมทั้งเล่าสิ่งที่ตนเองได้พบเจอ
Wall Thinking : ภาพสิ่งมีชีวิตในโรงเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
โรงเรียน
ผู้ปกครอง
กระดาษบรู๊ฟ/กระดาษชาร์ตสี(แข็ง)
สี/ปากกาเคมี
- อินเทอร์เน็ต
ห้องสมุด
บรรยากาศในห้องเรียน

ชง :
- ครูเปิดคลิปวีดีโอ สารเคมีอันตราย ให้นักเรียนชม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ชม  รู้สึกอย่างไร   
เชื่อม :
ครูนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์  และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ชมจากคลิป สารเคมีอันตราย
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าเราจะมีวิธีอย่างไรบ้างในการหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีในด้านอุตสาหกรรม การเกษตร เช่น ทำนา  เลี้ยงสัตว์ (ไก่ เป็ด ปลา สุกร)

เชื่อม :
- ครูนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีในด้านอุตสาหกรรม การเกษตร เช่น ทำนา  เลี้ยงสัตว์ (ไก่ เป็ด ปลา สุกร)
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าแหนแดงมีลักษณะ  ประโยชน์อย่างไรบ้าง
และเราสามารถนำแหนแดงไปทำอะไรได้บ้าง
เชื่อม :
- ครูนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะ ประโยชน์ของแหนแดง 
ชง :
- ครูเปิดคลิป แหนแดงในนาข้าว,เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งที่ได้ชม และสามารถนำอะไรไปใช้ได้บ้าง
เชื่อม :
- ครูนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแหนแดงในนาข้าว,เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์  ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่บ้านของนักเรียนกับสิ่งต่างๆ
(Round  Rubin)
ชง :
- นักเรียนคิดว่าแหนแดงสามารถนำไปเลี้ยงไก่ไข่ได้หรือไม่ อย่างไร
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- แบ่งกลุ่มนักเรียนเพาะเลี้ยงแหนแดง ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน (ในร่มกับกลางแจ้ง)
- นักเรียนทดสอบและเปรียบเทียบสารอาหารในแหนแดง
- เพาะเลี้ยงแหนแดงเพื่อเลี้ยงไก่ไข่
- ออกแบบและสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่
- บันทึกผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไก่  ไข่ไก่ ขี้ไก่  ลักษณะอาการ
ใช้ :
- นักเรียนเพาะเลี้ยงแหนแดงและทำโรงเรือนเลี้ยงไก่
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การเพาะเลี้ยงแหนแดง
- การทดสอบและเปรียบเทียบสารอาหารในแหนแดง
- การออกแบบและสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่
- การบันทึกผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไก่  ไข่ไก่ ขี้ไก่  ลักษณะอาการ
ชิ้นงาน
- เพาะเลี้ยงแหนแดง
- โรงเรือนเลี้ยงไก่
- บันทึกผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไก่  ไข่ไก่ ขี้ไก่  ลักษณะอาการ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ สามารถทำบ่อเลี้ยงแหนแดง รวมทั้งออกแบบและทำเล้าไก่ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
- ถ่ายทอดสิ่งที่ได้พบเจอ และสามารถนำเสนอแลกเปลี่ยนความเข้าใจของตนเองได้



ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น





สิ่งที่สะท้องว่าพี่มายด์ (ม.2) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้
 แกนเรื่อง : สิ่งมีชีวิตรอบตัว / การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต


ทักษะการทำงานร่วมกัน : มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือเพื่อนๆในการทำงาน เช่น บ่อแหนแดง ทำเล้าไก่ บ่อปลาดุกและแปลงเกษตรจนเสร็จ และทุกคนมีส่วนร่วม
ทักษะการวางแผนการทำงาน : จากการที่ได้ปลูกผักบางส่วนแล้วทำให้เห็นช่องทางในการเลือกปลูกผักที่เหมาะสมกับฤดูกาลมีการวางแผนกับเพื่อนในการปลูกผักใหม่ การทำแปลงเพิ่มเนื่องจากพื้นที่ยังเหลือ วางแผนการผลิตอาหารปลาดุกเอง แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้อาหารไก่ / ปลาดุก
ทักษะการสืบค้นข้อมูล : สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ แหนแดง ปลาดุก ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่และปลา ต่อยอดด้วยการหาวิธีทำอาหารเลี้ยงปลาเอง ทักษะชีวิต
ทักษะชีวิต : เรียนรู้การทำเกษตรพอเพียง เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ ปลูกผัก เลี้ยงปลา ได้ลงมือทำจริงจนเกิดการเรียนรู้และนำมาใช้ประกอบการเรียนของตนเอง
คุณลักษณะ :
พี่มายด์ มองเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบใส่ใจกับสิ่งที่กำลังทำเช่น การดูแลแปลงผักให้อาหารไก่และปลา มีความกล้าแสดงออกเช่น การถาม - ตอบ รวมทั้งการเสนอความคิดเห็น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์นักเรียน



ตัวอย่างภาพกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียน

























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น