1000 ล้านชีวิตในตัวเรา

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย 1000 ล้านชีวิตในตัวเรา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้

week 7

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
Topic : "1000  ล้านชีวิตในตัวเรา"
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 1  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารอาหาร การทดสอบสารอาหาร และสามารถทดลองสารอาหารในไข่ไก่แหนแดง   เนื้อ  เผือกได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

7 -8
30 มิ..  -
4 ..
  2557
โจทย์ :
การทดลองสารอาหารในไข่ไก่
แหนแดง   เนื้อ  เผือก

Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าในแหนแดง ไข่ไก่ เนื้อ เผือก มีสารอาหารอะไรบ้าง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าอุปกรณ์ และสารที่ใช้ในการทอสอบสารอาหารโปรตีนมีอะไรบ้าง

เครื่องมือคิด
Brainstorms : ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์เกี่ยวกับสารอาหารในแหนแดง ไข่ไก่ เนื้อ เผือก
 Round  Rubin :  การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปการทดสอบสารอาหาร
Show and  Share : ขั้นตอน ในการการทดสอบสาร
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิปการทดสอบสารอาหาร
บิ๊กเกอร์ หลอดทดลอง 
- โซเดียมซันเฟต
- อินเทอร์เน็ต
ห้องสมุด
บรรยากาศในห้องเรียน

ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าในแหนแดง ไข่ไก่ เนื้อ เผือก มีสารอาหารอะไรบ้าง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
เชื่อม :
ครูนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์  และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสารอาหารในแหนแดง ไข่ไก่ เนื้อ เผือก พร้อมทั้งหาวิธีการทดสอบ
- นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ  4 คน ศึกษาค้นคว้าวิธีการทดสอบสารอาหารที่มีอยู่ในแหนแดง ไข่ไก่ เนื้อ เผือก พร้อมทั้งนำเสนอให้เพื่อนและครูฟัง
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าอุปกรณ์ และสารที่ใช้ในการทอสอบสารอาหารโปรตีนมีอะไรบ้าง
เชื่อม :
ครูนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ในการจัดเตรียมสิ่งของที่จะใช้ในการทดลอง พร้อมทั้งศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทดลองเพิ่มเติมแล้วนำเสนอให้เพื่อนและครูฟัง
ชง :
- ครูเปิดคลิปตัวอย่าง การทดสอบสารอาหาร ให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งที่ได้ชม และสามารถนำอะไรไปใช้ได้บ้าง
เชื่อม :
- ครูนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดสอบสารอาหาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่ม จัดเตรียมอุปกรณ์ ทดลอง  พร้อมทั้งบันทึกผลเปรียบเทียบสารแล้วนำเสนอให้เพื่อนและครูฟัง
ใช้ :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทดสอบสารตามที่ได้ศึกษาและวางแผนไว้
- นักเรียนสรุปขั้นตอน อุปกรณ์  สาร ที่ใช้ในการทดสอบ
-นักเรียนแต่ละคนสรุปขั้นตอนการทดลอง เป็น  Flow chart
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- การวิเคราะห์  และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสารอาหารในแหนแดง ไข่ไก่ เนื้อ เผือก
- การจัดเตรียมสิ่งของและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดลอง
- คลิปตัวอย่าง การทดสอบสารอาหาร
- การศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบสารอาหาร

ชิ้นงาน :
- Flow chart ขั้นตอนการทดสอบสาร
- บันทึกผลจากการทดลอง
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจเกี่ยวสารอาหาร การทดสอบสารอาหาร และสามารถทดลองสารอาหารในไข่ไก่แหนแดง   เนื้อ  เผือกได้
ทักษะ :
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
- สามารถดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์หลังจากใช้งานเสร็จ
- สามารถผลิตไวน์ผลไม้ได้
การวางแผนการทำงาน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานและเตรียมอุปกรณ์ทดลอง
การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล / แก้ปัญหา
 มีการสารอาหารในแหนแดง ไข่ไก่ เนื้อ เผือก  การใช้อุปกรณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย







Week 7
สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ฟีล์ม (ม.2) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ PBL

แกนเรื่อง :  การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต / โครงสร้างเซลล์พืช / ส่องกล้องจุลทรรศน์
ทักษะการสื่อสาร : มีการนำเสนอข้อมูลจากการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูเซลล์ของแหนแดง
ทักษะการทำงานร่วมกัน : มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือเพื่อนๆในการทำงาน
ทักษะการสืบค้นข้อมูล : สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างเซลล์พืช ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในร่างกายของเรา
การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล : มีการสังเกตโครงสร้างของแหนแดง ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเซลล์แหนแดง วิเคราะห์จากสิ่งที่ตนเองเห็นพร้อมทั้งวาดประกอบ
ทักษะ ICT : การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างเซลล์พืช ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในร่างกายของเรา
ทักษะชีวิต : เรียนรู้การทำเกษตรพอเพียง เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ ปลูกผัก เลี้ยงปลา ได้ลงมือทำจริงจนเกิดการเรียนรู้และนำมาใช้ประกอบการเรียนของตนเอง

ทักษะการแก้ปัญหา : มีการจัดการตนเองในการทำชิ้นงาน มองเห็นปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น พร้องทั้งหาแนวทางแก้ไข





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น